FM 96.5 | ห้องรับแขก | ชื่นชม 3 ทีมคว้ารางวัลนวัตกรรมเพื่อการเกษตร ช่วยเกษตรกรลุย5G | 6 พ.ย. 65
เปิดห้องรับแขกประจำทุกสัปดาห์โดย คุณปนัดดา วงศ์ผู้ดี และ คุณพัชราภรณ์ ชมกลิ่น คืนแห่งความฝันของเกษตรกรยุค5G ใกล้เป็นจริง
NIA : National Innovation Agency, Thailand
[News Update] NIA และเครือข่ายพันธมิตร เดินหน้าเร่งปั้นสตาร์ทอัพปัญญาประดิษฐ์สายเกษตร ตั้งเป้าสร้างนวัตกรรมพลิกโฉมภาคการเกษตรไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
จบลงไปแล้วสำหรับกิจกรรม AgTech AI Demo Day 2022 ภายใต้โครงการ “เครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาสตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AgTech AI Consortium) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรเครือข่าย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ SCG Digital Innovation Garage บริษัท เอสซีจี ซิเมนต์–ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด
ภายในงานวันนี้ เป็นการนำเสนอผลงานของสตาร์ทอัพปัญญาประดิษฐ์สายเกษตรของโครงการ 6 ทีม ที่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะอย่างเข้มข้นผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เสริมด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และด้านการสร้างธุรกิจแบบสตาร์ทอัพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดระยะเวลา 4 เดือน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ว่า
.
NIA มีนโยบายที่ชัดเจนในการเร่งสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพด้านการเกษตรของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันสตาร์ทอัพไทยด้านการเกษตรให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1. พลิกโฉมเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในการลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ และสร้างตลาดใหม่ 2. ขยายการใช้งานนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเหล่านี้ไปในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ และ 3. การวางบทบาทให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อมโยงกับศูนย์กลางสตาร์ทอัพด้านเกษตรระดับโลก ซึ่งโครงการ AgTech AI มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งสร้างสตาร์ทอัพไทยด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึก โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาให้นักศึกษา นักวิจัย และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยได้เตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่มีทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถพัฒนาต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมแก้ปัญหาภาคการเกษตรของประเทศ
สำหรับคณะกรรมการที่ให้เกียรติมาร่วมตัดสินและให้คำแนะนำแก่สตาร์ทอัพในวันนี้ ได้แก่ คุณเฉลิมพล ตู้จินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นาสท์ด้า โฮลดิ้ง จํากัด คุณเอกธัช ภัทระโภคพัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ผศ.ดร.นริศ หนูหอม ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer WEDO, SCG-CBM
สรุปผลการตัดสินรางวัลจากคณะกรรมการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. รางวัล The Winner Award และรางวัล The Most Think-out-of-the-box ได้แก่ ทีม REAl CMU ระบบน้ำพลาสมาไมโครบับเบิลสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกและเพิ่มผลผลิตพืชไฮโดรโปนิกส์ที่ควบคุมปัจจัยการเพาะปลูกด้วยระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
2. รางวัล The First Runner Up และรางวัล The Best Engagement Award ได้แก่ ทีม FarmConnect Asia ระบบบริหารจัดการน้ำสำหรับแปลงเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
3. รางวัล The Best Improvement ได้แก่ ทีม Pest AI “หมอพืช” แอปพลิเคชันทำนายและตรวจวิเคราะห์ศัตรูพืช (โรคพืช แมลงศัตรูพืช และวัชพืช)
ทั้งนี้ หากมีเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร นักลงทุน หรือหน่วยงานใด ที่สนใจในเทคโนโลยีของสตาร์ทอัพด้านการเกษตรทั้ง 6 ราย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายสิรพัฒน์ ชนะกุล โทรศัพท์ : 02-017 5555 ต่อ 544 มือถือ : 091-541 5542 อีเมล : sirapat@nia.or.th
สำหรับท่านใดที่สนใจโครงการดีๆ แบบนี้ และพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งกับเรา สามารถรวมกลุ่มเป็นทีม และสมัครเข้าร่วมโครงการได้ โดยโครงการจะเริ่มเปิดรับสมัครช่วงต้นปี 2566 ติดตามรายละเอียดได้ที่สื่อประชาสัมพันธ์ของ NIA และเครือข่ายพันธมิตรของโครงการทุกช่องทาง
#AgriculturalTransformation
AgTech Connext
29 กันยายน – 2 ตุลาคม 65 ที่ผ่านมา NIA พร้อมกับ 6 สตาร์ทอัพด้านการเกษตร ร่วมเสวนาในงานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2565 หรือ “TechnoMart 2022” ณ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยวันที่ 1 ตุลาคม 65 ร่วมพูดคุยกันในหัวข้อ “สตาร์ทอัพการเกษตรด้าน Smart Farm และแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร สู่การเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน”
NIA ได้กล่าวถึงแนวทางการสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพด้านการเกษตร เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาแก้ปัญหาในภาคการเกษตรให้มากขึ้น โดย NIA ในฐานะผู้อำนวยความสะดวกและหน่วยงานส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมนั้น ได้จัดกิจกรรมบ่มเพาะเร่งสร้างสตาร์ทอัพด้านการเกษตรตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการทดลองใช้งานจริง ปรับกลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้ใช้บริการ อีกทั้งสร้างความตระหนักรู้ในการใช้เทคโนโลยีในภาคการเกษตรให้มากขึ้น ทั้งนี้ 6 สตาร์ทอัพด้านการเกษตร ที่ผ่านการโครงการอบรมบ่มเพาะมาแล้วนั้น ได้มาร่วมแชร์เส้นทางการเติบโต รวมถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถยกระดับภาคการเกษตรไทยไปอีกขั้น
วาริชธ์- บริการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรผ่านนวัตกรรมแบบครบวงจร จนถึงการหาตลาดส่งออกไปต่างประเทศ เป็นการลดการสูญเสียผลผลิตทางด้านการเกษตรและเพิ่มมูลค่าไปในคราวเดียวกัน สำหรับเกษตรกรรายใดที่มีสินค้าล้นตลาดต้องการแปรรูป พร้อมมีกองทุนสนับสนุนช่วงทดสอบตลาด
ฟาร์มคอนเนค เอเชีย- ระบบควบคุมและติดตามการบริหารจัดการน้ำและปุ๋ยแปลงเกษตรแม่นยำแบบกลางแจ้งและโรงเรือนด้วยเทคโนโลยี IoT Fertigation ช่วยเพิ่มผลผลิตคุณภาพสูงทั้งเกรดเอและเกรดพรีเมี่ยม จากประสบการณ์ปลูกเมล่อนกลางทุ่งกว่า 30 ปี มาต่อยอดด้วยการควบคุมที่แม่นยำเที่ยงตรง ได้ลผลิตตรงตามความต้องการผู้บริโภค สนใจติดต่อที่ https://www.facebook.com/farmconnectasia
เมอร์ลิเนียม ฟาร์ม- ระบบเกษตรอัจฉริยะสื่อสารข้อมูลไร้สาย ด้วยเทคโนโลยีผลิตพลังงานในตัวด้วยแสงความเข้มต่ำ แก้ปัญหาความยุ่งยากของสมาร์ทฟาร์มแบบเดิมไปโดยสิ้นเชิง ไม่มีต้องมีสายไฟ แดดน้อยก็ทำงานได้
มินิเอเจอร์-ระบบควบคุมฟาร์ม อัจฉริยะ เกรดอุตสาหกรรม สถานีปฏิบัติการระบบเกษตรแม่นยำ จากวิศวกรหัวใจเกษตรพร้อมออกแบบ บริการและให้คำปรึกษาด้วยระบบอัตโนมัติ พร้อมสร้างการเรียนรู้จากข้อมูลการปลูกพืชให้เกิดความแม่นยำ
แมกโฟว์- การใช้กระแสน้ำวนสนามแม่เหล็กเพื่อลดการใช้น้ำและปุ๋ยทางการเกษตร หนึ่งใน DeepTech สตาร์ทอัพที่น่าสนใจ นำหลักการจากงานวิจัยเชิงลึกมาแก้ปัญหาภาคการเกษตรได้จริง
อีซี่ไรซ์- เครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เป็นเทคโนโลยีที่จะช่วยจัดการปัญหาการทดสอบคุณภาพข้าวผ่านเครื่องมือที่แม่นยำ ใช้งานง่าย อีกทั้งช่วยลดเวลาและกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านข้าว
การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงการสนับสนุนและส่งเสริมการรับรู้ของเทคโนโลยีเหล่านั้นเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคการเกษตรไทย และนำไทยสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านจากการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรแบบใหม่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตไม่แพ้นานาประเทศ
โดยในงาน TechnoMart 2022 กระทรวง อว. ได้รวบรวมผลงานวิจัยมาจัดแสดงมากกว่า 400 ผลงาน ที่สอดรับกับแนวคิด “BCG Model” มุ่งขับเคลื่อนประเทศด้วยรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตแบบองค์รวม ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ รวมถึงผลงานของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกกว่า 80 หน่วยงาน
NIA #StartupThailand#AgTechStartup#AgTechConnext#SmartFarming#AgTechMarket#TechnoMart
รู้จักสตาร์ทอัพไทยสาย ‘Ag-Tech’ ช่วยเกษตรกร สร้างรายได้ปีละล้าน ความหวังใหม่วงการเกษตรกรรมไทย
https://www.amarintv.com/spotlight/start-up/detail/21179
นี่คือเป้าหมายของทีม ‘FarmConnect’สตาร์ทอัพสาย Ag-Tech ( Agriculture-Tech หรือ เทคโนโลยีการเกษตร) ที่ช่วยเกษตรกรโดยการ นำเทคโนโลยีด้านฐานข้อมูล และระบบ IoT เข้ามาช่วยให้น้ำและปุ๋ยกับพืชในแปลงที่เกษตรกรดูแลอยู่ แบบอัตโนมัติ และตรงตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด
ซึ่งจะสามารถเร่งผลผลิตเนื่องจากพืชจะ ได้รับน้ำและอาหารในปริมาณ และช่วงเวลาที่ ‘เหมาะสมที่สุด’ อ้างอิงจากฐานข้อมูล ‘Crop Profile’ หรือความต้องการน้ำ ปุ๋ย และบรรยากาศการเพาะปลูกที่เหมาะสมของพืชแต่ละชนิด อย่างเฉพาะเจาะจง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าน้ำ ค่าปุ๋ย ค่าจ้างคนบางส่วน รวมถึงดันรายได้จากการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ดังที่สมาชิกในทีมหวังว่าจะช่วยให้เกษตรกร สร้างรายได้มากถึง ‘1 ล้านบาท’ ในต่ละปี
เพียงติดตั้งเครื่องมือเข้ากับระบบปั๊มน้ำ และปุ๋ยของแปลงเกษตร ก็สามารถควบคุมผ่านแอพพลิเคชันได้ ทั้งระบบอัตโนมัติ และระบบควบคุมด้วยตนเอง ประหยัดต้นทุน เวลา ค่าใช้จ่าย แถมยังช่วยให้คุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นอีกด้วย
ทีม FarmConnect คือ ‘ความหวังใหม่’ ของวงการ Ag-Tech ของไทย และเป็นผู้ชนะเลิศในโครงการ ‘BAAC Hackathon and Incubator’ ที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับ HUBBA จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เพื่อเฟ้นหาสุดยอดสตาร์ทอัพสายเกษตร เพื่อมายกระดับวงการเกษตรกรรมไทย